ไม่ต้องทนเจ็บกับอุบัติเหตุอีกต่อไปให้ PA Safety คุ้มครอง อุ่นใจ ไปทั่วโลก
จุดเด่น
หมายเหตุ : * สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 7
** เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น ใช้บัตร Easy PA Credit เพื่อแสดงตนใน การเข้ารับการรักษาพยาบาล ในกรณีประสบอุบัติเหตุต่อโรงพยาบาลคู่สัญญาโดยไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้า ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ท่านเลือก ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่สะดวกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทฯ ผู้เอาประกันภัยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ ได้ โดยสำรองค่าใช้จ่ายและนำใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จตัวจริงมาเบิกได้ที่บริษัทฯ โดยผู้เอาประกันภัยต้องนำบัตรประชาชน หรือบัตรที่ออกให้โดยราชการ (บัตรที่มีรูปติด) ใช้ร่วมกับบัตร Easy PA Credit ทุกครั้ง
*** สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 3-7 ,บริการในการช่วยเหลือกรณีประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินผ่านบริการให้ความช่วยเหลือพิเศษ SOS เช่น บริการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในประเทศและต่างประเทศอาทิ บริการฉุกเฉินในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล เป็นต้น
**** สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 1-3
แผนความคุ้มครอง
หลักเกณฑ์การรับประกัน
1. อายุเริ่มของผู้ขอเอาประกันภัย
สำหรับกลุ่มอาชีพ 1 และ 2
แผน 1 – 3 : 30 วัน – 75 ปี
แผน 4 – 6 : 16 ปี – 75 ปี
แผน 7 : 16 ปี – 60 ปี
สำหรับกลุ่มอาชีพ 3
แผน 1 – 2 : 16 ปี – 75 ปี
2. การชำระเบี้ยประกันภัย : รายปี
3. การตรวจสุขภาพ : ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
4. รับประกันเฉพาะกลุ่มอาชีพ 1, 2 และ 3 (กลุ่มอาชีพ 3 รับประกันภัยเฉพาะความคุ้มครองแผน 1 และแผน 2 เท่านั้น)
ประเภทอาชีพ
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 1 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฎิบัติงานด้านบริการ หรือการจัดการ งานเสมียน หรืองานขายในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักรลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับต่ำ
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฎิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้าซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นผู้ปฎิบัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฎิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลาลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 3 หมายถึง ผู้ปฎิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 4 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานที่มีอาชีพพิเศษ ซึ่งไม่สามารถจัดเข้าประเภทอาชีพชั้น 1 ชั้น 2 หรือ ชั้น 3 ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากเป็นพิเศษ
ดาวน์โหลดโบรชัวร์